โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น |
ความเป็นมา
โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นงานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม โดยการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ปิดกั้นแม่น้ำยมที่อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เพื่อกักเก็บน้ำในฤดูน้ำหลากไว้ใช้สำหรับการเพาะปลูก อุปโภคบริโภค การประปา แก่ราษฎรสองฝั่งแม่น้ำยม เขตจังหวัดแพร่ จังหวัดสุโขทัยและบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2523 มอบหมายการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม โครงการผันน้ำ อิง – ยม – น่าน โดยมีเป้าหมายผันน้ำจากแม่น้ำโขง น้ำอิง และน้ำกก มาเก็บกักไว้ในแม่น้ำยม แล้วนำไปใช้ในพื้นที่บริเวณ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในฤดูแล้ง ต่อมาได้ขยายการศึกษาครอบคลุมถึงการผันน้ำจากน้ำกก จึงเปลี่ยนชื่อเป็นโครงการผันน้ำกก – อิง – ยม – น่าน ซึ่งการศึกษาระยะแรกได้พิจารณาศึกษาโครงการผันน้ำอิง – ยม , กก – ยม และเขื่อนแก่งเสือเต้น
ที่ตั้งโครงการ
เขื่อนแก่งเสือเต้น จะสร้างในลำน้ำยมที่พิกัดเส้นรุ้ง 18 ํ 38 ํ เหนือ และเส้นแวง 100 ํ 10 ํ ตะวันออกเหนือจุดบรรจบแม่น้ำยมและแม่น้ำงาวไปทางเหนือน้ำประมาณ 7 กม. ในเขตอำเภอสอง จังหวัดแพร่ ห่างจากตัวเมืองแพร่ ไปทางเหนือประมาณ 50กม.
ลักษณะโครงการ
ที่ตั้ง บนแม่น้ำยมเหนือจุดบรรจบแม่น้ำงาว-แม่น้ำยม 7 กม.
ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่
เส้นรุ้ง 18° 38 ¹ เหนือ
เส้นแวง 100 ° 10 ¹ ตะวันออก
พื้นที่รับน้ำ 3 , 583 ตร.กม.
ปริมาณฝนเฉลี่ยรายปี 1,201 มม.
ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยต่อปี 931 ล้าน ลบ.ม.
อัตราน้ำนองสูงสุดในรอบ 100 ปี 2,509 ลบ.ม./วินาที
อัตราน้ำนองสูงสุดในรอบ 10,000 ปี 5,140 ลบ.ม./วินาที
เขื่อน
เขื่อนหินถมดาดคอนกรีต
ระดับสันเขื่อน +261 ม.รทก.
ความกว้างสันเขื่อน 10 เมตร
ความสูงเขื่อนวัดจากท้องลำน้ำ 69 เมตร
ความยาวสันเขื่อน 540 เมตร
ปริมาตรตัวเขื่อน 3.27 ล้าน ลบ.ม.
ระดับน้ำกักปกติ / ระดับเก็บกักสูงสุด +258 ม.รทก.
ระดับน้ำเก็บกักต่ำสุด +218 ม.รทก.
พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับเก็บกักสูงสุด 65 ตร.กม.
ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกักปกติ 1,175 ล้าน ลบ.ม.
อาคารผันน้ำ
ระบายน้ำหลากสูงสุด 2,401 ลบ.ม/วินาที
อาคารระบายน้ำ
ล้น รางเปิดควบคุมด้วยประตูบานโค้ง ความกว้างช่องละ 15 เมตร
ขนาดประตูบานโค้ง 4 x 15.0 x 14.25 เมตร
ระดับสันอาคารระบายน้ำล้น +245 ม.รทก.
ระดับสันบานระบาย +258.5 ม.รทก.
ความสามารถระบายน้ำ 5,355 ลบ.ม./วินาที
อาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิม
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เมตร
ความสามารถระบายน้ำ 108 ลบ.ม./วินาที
พื้นที่ชลประทาน
พื้นที่ชลประทานที่ได้รับประโยชน์จากโครงการคือ โครงการที่อยู่ในลุ่มน้ำแม่ยมเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าตามแนวลำน้ำแม่ยม โครงการฝายพิจิตร และพื้นที่บางส่วนของของโครงการเจ้าพระยาตอนบน ซึ่งจะช่วยใ้หสามารถเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกในฤดูแล้งของโครงการต่าง ๆ ได้ 367,228 ไร่ โดยแยกเป็นแต่ละโครงการดังนี้
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น