ลำดับที่ | วันที่ | สัญลักษณ์ | ประวัติย่อ |
---|---|---|---|
1 | 26 มีนาคมพ.ศ. 2459 | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐาน “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย โดยมี 4 คณะแรกตั้ง ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน)คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | |
2 | 27 มิถุนายนพ.ศ. 2477 | ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ริเริ่มก่อตั้ง "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.)" ขึ้น เป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของประเทศไทย วิชาเริ่มแรกที่เปิดสอนมี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิต ซึ่งสอนวิชากฎหมายเป็นหลัก และ วิชาการบัญชี ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" | |
3 | 2 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2486 | "โรงเรียนช่างไหม" ได้รับการพัฒนาการเรียนการสอนจนสถาปนาขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางด้านการเกษตรแห่งแรกของไทย โดยมีคณะเกษตรศาสตร์ คณะการประมง คณะวนศาสตร์ และ คณะสหกรณ์ เป็นคณะแรกตั้ง ในปัจจุบันคือ คณะเกษตร คณะประมง คณะวนศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และ คณะเศรษฐศาสตร์ | |
4 | 7 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2486 | มีการแยกคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์ และ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งเป็น "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" ต่อมาได้รับพระราชทานนามมหาวิทยาลัยใหม่ ว่า "มหาวิทยาลัยมหิดล" | |
5 | 12 ตุลาคมพ.ศ. 2486 | "โรงเรียนปราณีตศิลปกรรม" ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศิลปากร" โดยมีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม เป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์) | |
6 | 21 มกราคมพ.ศ. 2507 | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย ได้แก่ "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" โดยมีคณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ เป็นคณะแรกตั้ง | |
7 | 25 มกราคมพ.ศ. 2509 | มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตราพระราชบัญญัติ สถาปนาสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ "มหาวิทยาลัยขอนแก่น" โดยมีคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะเกษตรศาสตร์ เป็นคณะแรกตั้ง | |
8 | 12 มีนาคมพ.ศ. 2511 | ได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้ของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยว่า "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์" ตามพระนามฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์ โดยมีคณะคณะศึกษาศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นคณะแรกตั้ง | |
9 | 26 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2514 | "มหาวิทยาลัยรามคำแหง" ได้รับการสถาปนาเป็นสถาบันอุดมศึกษาแบบตลาดวิชา โดยมีคณะแรกตั้ง คือ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ | |
10 | 24 เมษายนพ.ศ. 2514 | มีการรวม "วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี และวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี" จัดตั้งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูง ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า" แบ่งออกเป็น 3 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตนนทบุรี วิทยาเขตพระนครเหนือ และวิทยาเขตธนบุรี ต่อมาได้ยกฐานะและแยกแต่ละวิทยาเขตเป็นสถาบันอุดมศึกษาอิสระต่อกัน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี | |
11 | 29 มิถุนายนพ.ศ. 2517 | "วิทยาลัยวิชาการการศึกษา" ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" | |
12 | 5 กันยายนพ.ศ. 2521 | มีการสถาปนาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบบไม่จำกัดรับแห่งที่ 2 ของประเทศ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานนามว่า "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" ตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็น "กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา" และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย | |
13 | 27 กรกฎาคมพ.ศ. 2533 | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. 2533 "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี" ถือว่าวันนี้เป็นสถาปนามหาวิทยาลัย[1] โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลแห่งแรกของประเทศไทย (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ฉบับพิเศษ) หน้า 93 เล่ม 107 ตอนที่ 131 วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533) | |
14 | 29 กรกฎาคมพ.ศ. 2533 | "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก" ได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 400 ปี ของการเสด็จขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยแห่งนี้ว่า "มหาวิทยาลัยนเรศวร" | |
15 | 29 กรกฎาคมพ.ศ. 2533 | ได้มีการยกฐานะ "วิทยาลัยอุบลราชธานี" ในสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี" | |
16 | 30 กรกฎาคมพ.ศ. 2533 | มีพระราชบัญญัติให้ "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน" ยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยบูรพา" | |
17 | 29 มีนาคมพ.ศ. 2535 | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระราชทานชื่อว่า "มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์" อันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี | |
18 | 9 ธันวาคมพ.ศ. 2537 | "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม" ได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" | |
19 | 1 พฤศจิกายนพ.ศ. 2539 | "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา" ยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยทักษิณ" | |
20 | 11 พฤศจิกายนพ.ศ. 2539 | "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม แม่โจ้" หรือ "สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้" ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยแม่โจ้" | |
21 | 25 กันยายนพ.ศ. 2541 | ได้มีการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาลอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย โดยใช้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง" เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทยที่มีต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และให้สถาบันแห่งนี้เป็นแหล่งสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ต่อไป | |
22 | 14 มิถุนายนพ.ศ. 2547 | ได้มีการยกฐานะ "สถาบันราชภัฎ" เป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฎ" จำนวน 40 แห่ง | |
22 | 18 มกราคมพ.ศ. 2548 | ได้มีการยกฐานะ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชได้ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2548 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 พระราชบัญญัติดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 19 มกราคม 2548 เป็นต้นมา ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา | |
23 | 9 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2548 | ได้มีการรวมสถาบันการศึกษาภายในจังหวัดนราธิวาส เพื่อสถาปนา "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์" | |
24 | 2 กันยายนพ.ศ. 2548 | มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ของประเทศ ในจังหวัดนครพนม โดยการรวมสถาบันการศึกษาภายในจังหวัด เพื่อสถาปนาขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยนครพนม" | |
25 | 16 กรกฎาคมพ.ศ. 2553 | "มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา" ยกฐานะจากวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็น "มหาวิทยาลัยพะเยา" | |
26 | 13 พฤศจิกายนพ.ศ. 2553 | วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล และ วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ ยุบรวมเข้าเป็น "มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร" |
ที่มา wikipedia
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น